หากจะกล่าวว่าโลกของเราทุกวันนี้มีนวัตกรรมใหม่ ๆ นั้นก็มาจากการศึกษาวิจัย และนำไปต่อยอดให้สามารถใช้ได้จริง ซึ่งในการทำวิจัยนั้น ผู้วิจัยมักคิดและต้องการศึกษาสิ่งใหม่และหรือต่อยอดจากสิ่งเดิม เพื่อสร้างองค์ความรู้ อาจจะไม่จำเป็นต้องค้นพบใหม่ แต่เป็นแนวคิดใหม่ได้ เมื่อเราค้นพบสิ่งเหล่านี้แล้วเรามักจะถ่ายทอดองค์ความรู้ในรูปแบบของงานเขียน มักจะอยู่ในรูปแบบ บทความวิชาการ หรือในรูปแบบวิทยานิพนธ์กรณีผู้วิจัยศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งการถ่ายทอดองค์ความรู้ออกมาในรูปแบบของงานเขียนจึงควรมีความเป็นเอกลักษณ์จากตัวผู้เขียนเอง (originality) กล่าวคือ ไม่ควรจะลอกเลียนหรือลักลอกมาจากผู้อื่นทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ

ความสำคัญของการตรวจลักลอกวรรณกรรม นอกจากจะช่วยรักษาความน่าเชื่อถือของผู้เขียนแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมจริยธรรมของตัวผู้เขียนเอง ที่จะตระหนักถึงการพยายามเขียนผลงานด้วยตนเอง ไม่ไปลอกเลียนแบบ อ้างอิงแหล่งที่มาอย่างถูกต้องและครบถ้วน โดยผู้เขียนจำเป็นต้องพัฒนาทักษะในการเขียน ผึกฝนการเรียบเรียงความคิดและการเล่าเรื่อง ให้สามารถถ่ายทอดผลงานได้อย่างน่าสนใจ เพิ่มคุณค่าให้กับผลงานอันเป็นเอกลักษณ์ของผู้เขียนที่กลั่นกรองมาจากองค์ความรู้ที่ได้ศึกษามาด้วยน้ำพักน้ำแรง โดยการเขียนอันเป็นเอกลักษณ์ช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับผลงานทั้งในทางวิชาการ สร้างความภาคภูมิใจ และสร้างความมั่นใจให้กับผู้เขียน ในการจะถ่ายทอดผลงานให้เป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการต่อไป
เพื่อให้เรารอดพ้นจากการโดนตรวจการซ้ำซ้อนที่มากเกิดไป แม้จะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ครั้งหน้าเราจะมาแนะนำเทคนิคในการเขียนบทความให้ไม่ซ้ำซ้อนกับผลงานอื่น ๆ จะมีเทคนิคอะไรบ้างนั้น รอติดตามกันในบทความถัดไป
ช่องทางติดต่อสอบถามเกี่ยวกับระบบไอทีสิส
Email: contact@ithesis.co
Comments