ระหว่างการอัปเดตผู้ใช้งานยังสามารถใช้งาน iThesis Office Add-in ได้ตามปกติ และจะอัปเดตเป็นเวอร์ชันใหม่โดยอัตโนมัติเมื่อปิดเปิดโปรแกรม Microsoft Word ทั้งนี้หากผู้ใช้งานพบว่าเวอร์ชันที่ใช้งานยังไม่เป็นเวอร์ชันล่าสุด สามารถตรวจสอบวิธีการอัปเดตได้ ที่นี่
โดยมีรายละเอียดการอัปเดตดังต่อไปนี้
แก้ไขการแสดงผลรายชื่ออาจารย์และกรรมการที่ปรากฏในเล่มวิทยานิพนธ์ให้แสดงผล อย่างถูกต้อง
การเขียนชื่อบุคคล ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา หรือคณะกรรมการสอบ ในเอกสารวิทยานิพนธ์ มีความแตกต่างกันระหว่างชื่อภาษาไทยและชื่อภาษาอังกฤษ
ภาษาไทย คำนำหน้าชื่อ จะติดกับชื่อ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ไอทีสิส แพลตฟอร์ม
คลิกเพื่อดูรูปตัวอย่าง
ภาษาอังกฤษ คำนำหน้าชื่อ จะเว้นวรรค 1 ครั้ง ได้แก่ Associate Professor IThesis Platform
คลิกเพื่อดูรูปตัวอย่าง
ทั้งนี้ในเวอร์ชันที่ผ่านมาระบบจะทำการเว้นวรรค 1 ครั้งทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทำให้รูปแบบการแสดงผลไม่ถูกต้อง ในเวอร์ชันนี้เราได้ทำการปรับแก้ให้รองรับกับชื่อบุคคล และแสดงผลเว้นวรรคอย่างถูกต้องตามรูปแบบ
ปรับปรุงกระบวนการ validate template และ save to cloud ให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น
ผู้ใช้งานอาจพบว่ากระบวนการตรวจสอบไฟล์วิทยานิพนธ์ (validate template) และการบันทึกไฟล์เข้าสู่ระบบ (save to cloud) ใช้เวลานาน และมีขั้นตอนการจัดทำหัวข้อในสารบัญก่อนที่จะตรวจสอบข้อมูล ทีมงานได้ปรับปรุงให้ระบบตรวจสอบข้อมูลในรูปเล่มวิทยานิพนธ์และแจ้งข้อมูล ก่อนที่จะจัดทำรายการหัวข้อสารบัญ โดยปรับปรุงทั้งกระบวนการและการแสดงผลของแถบความก้าวหน้า (progress bar) ระหว่างที่ทำการ validate และ save to cloud
ปรับปรุงกระบวนการสร้างบุ๊คมาร์คบนไฟล์ PDF ที่ได้หลังจาก save to cloud
การเขียนเล่มวิทยานิพนธ์จะแบ่งส่วนการนับหน้าเอกสาร เป็นส่วนหน้า จะใช้การนับเลขในรูปแบบตัวอักษรไทย หรือเลขโรมัน และเริ่มที่หน้า 1 ที่บทที่ 1 แต่เมื่อแปลงเป็นไฟล์ PDF แล้วการชี้ไปยังหน้าเหล่านี้จะต้องใช้เลขหน้าตามบนไฟล์ PDF ทีมงานได้ปรับปรุงกระบวนการให้การตรวจสอบจำนวนหน้าส่วนต้นมีความแม่นยำมากขึ้น รวมไปถึงการตั้งค่าเลขหน้าของเอกสาร ควรจะอิงกับเลขหน้าจริง ตัวอย่างเช่น หน้าอนุมัติวิทยานิพนธ์ที่อยู่ถัดจากเล่มวิทยานิพนธ์ที่มีหน้าปกแรกและหน้าปกในรวมกัน 2 หน้า ควรจะเริ่มต้นที่หน้า ค หรือ III ซึ่งที่ผ่านมาบางทีหน้า ค หรือ III จะไปแสดงที่หน้าบทคัดย่อเป็นลำดับแรก มีผลให้การจัดทำบุ๊คมาร์คมีข้อผิดพลาดได้ ในส่วนนี้ยังมีข้อจำกัดในการสร้างบุ๊คมาร์คที่สามารถคลิกได้เมื่อภายในเอกสารมีหน้าแนวนอน ทั้งนี้ทีมงานแนะนำให้ใช้งานเครื่องมือสารบัญอัตโนมัติของ Microsoft Word จะได้เลขหน้าและหัวข้อสารบัญที่แม่นยำกว่า
ในการใช้งาน iThesis Office Add-in อย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องเชื่อมต่อกับ Web Application version 1.5.14 ท่านสามารถตรวจสอบเวอร์ชันของ web application ได้ ณ ตำแหน่งดังรูป
หาก Web Application ของท่านยังไม่ใช่เวอร์ชันนี้ ท่านอาจพบว่าฟีเจอร์บางอย่างไม่สามารถใช้งานได้ ท่านสามารถติดต่อทีมงานหรือแจ้งเจ้าหน้าที่สถาบัน เพื่อให้ทีมงานเข้าทำการอัปเดตให้ Web Application ของสถาบันให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด 1.5.14
ช่องทางติดต่อสอบถามเกี่ยวกับระบบไอทีสิส
Email: contact@ithesis.co
Comments