top of page

นโยบายของสำนักพิมพ์วารสารวิชาการต่อการใช้ Generative AI ในงานเขียน

Writer: Nappaphan KunanusontNappaphan Kunanusont

บทความนี้ได้รับการช่วยเหลือจาก Rover AI, ChatGPT และ Gemini ในการรวบรวมและเรียบเรียงข้อมูล (31 ตุลาคม 2567)


นับตั้งแต่มีการเปิดตัวปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ หรือ Generative AI นามว่า ChatGPT ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2565 คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าหลาย ๆ งานเขียนที่เผยแพร่ให้ได้อ่านกันในปัจจุบันมีส่วนมากจากการเขียนของ Generative AI ซึ่งอาจเป็นงานเขียนทั้งหมดหรือใช้ในการช่วยรวบรวมและเรียบเรียง


การใช้ Generative AI ที่สามารถค้นหา รวบรวม เรียบเรียง จนได้เนื้อความเสมือนกับใช้คนเขียน เข้ามาปฏิวัติการเขียนเป็นอันมาก ซึ่งก็เป็นความถนัดของ Generative AI อยู่แล้ว แต่ในความเป็นดาบสองคมนั้นเอง Generative AI เอง อาจเขียนหรือสร้างความรู้บางอย่างที่ไม่มีอยู่จริงขึ้นมา เนื่องจาก AI เองก็ไม่ทราบว่าสิ่งที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้นมีจริงหรือไม่ เพียงแต่ข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียงใหม่ ดังนั้นคนจริง ๆ ที่ใช้งาน Generative AI ยังจำเป็นต้องตรวจสอบและใช้วิจารณญาณในการรับรู้ข่าวสาร ว่าสิ่งที่ Generative AI เขียนขึ้นมามีจริงหรือไม่จริง


ในวงการวิชาการเองนั้นก็มีการถกเถียงในเรื่องนี้ ว่าการเขียนงานวิชาการโดยมีการใช้ Generative AI ช่วยเขียนหรือช่วยเรียบเรียงนั้นเป็นที่ยอมรับหรือไม่ บางสำนักพิมพ์ก็ยอมรับในขอบเขตหนึ่ง ขณะที่บางสำนักพิมพ์อาจไม่ยอมรับให้ใช้งาน AI เลย โดยนี่เป็นรายการข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องมือ AI ของสำนักพิมพ์นานาชาติชั้นนำที่รวบรวมมา (กดที่นี่เพื่อข้ามไปยังหัวข้อสรุป)



American Psychological Association (APA)

  • ต้องมีการเปิดเผยการใช้ AI ในการเตรียมต้นฉบับ

  • ไม่สามารถระบุให้ AI เป็นผู้เขียนได้

  • ผู้เขียนจำเป็นจะต้องแนบผลลัพท์ที่ได้จาก AI ในรูปแบบเอกสารเพิ่มเติม (supplement material)


Wiley Online Library

  • สามารถใช้ AI ช่วยเหลือได้ โดยจำเป็นต้องเปิดเผยว่ามีการใช้ AI

  • ไม่ให้ระบุ AI เป็นผู้เขียนเนื้อหา

  • เน้นย้ำถึงความสำคัญของการตรวจสอบและการตัดสินใจของมนุษย์ในกระบวนการเขียน


JAMA Network

  • สามารถใช้ AI ทั้งในบทบาทของผู้เขียนและผู้ตรวจสอบเนื้อหา

  • โดยเน้นการรักษาความลับและความรับผิดชอบ AI ต้องถูกเปิดเผย และ

  • ผู้เขียนต้องรับผิดชอบทั้งหมดต่อเนื้อหาทั้งที่เขียนเองและที่ AI สร้างขึ้น


SAGE Publishing

  • กำหนดให้ผู้เขียนต้องเปิดเผยเนื้อหาที่สร้างโดย AI

  • ต้องมีการตรวจสอบโดยมนุษย์เพื่อป้องกันการใช้ AI แทนที่การเขียนที่เป็นต้นฉบับ

  • อนุญาตให้ใช้เครื่องมือ AI ในการแก้ไข แต่ไม่ใช่สำหรับการสร้างเนื้อหา


Taylor & Francis

  • กำหนดให้เปิดเผยการใช้เครื่องมือ AI โดยเฉพาะในบริบททางวิทยาศาสตร์ที่เน้นความเป็นข้อเท็จจริงและความแม่นยำ

  • เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเป็นเจ้าของผลงานทางปัญญาของมนุษย์

  • อนุญาตให้ใช้ AI ในการปรับปรุงภาษา โดยผู้เขียนต้องเปิดเผยว่ามีการใช้ AI

  • ไม่สามารถระบุ AI เป็นผู้เขียนร่วมได้


Springer Nature

  • อนุญาตให้ใช้ AI ในการแก้ไขและปรับปรุงภาษา แต่ต้องมีการเปิดเผยการใช้งาน

  • ห้ามใช้ AI สร้างเนื้อหาส่วนสำคัญโดยลำพัง

  • เน้นที่ผลกระทบทางจริยธรรมของเนื้อหาที่สร้างโดย AI

  • ไม่สามารถระบุ AI เป็นผู้เขียนได้


Elsevier

  • เน้นย้ำความรับผิดชอบของผู้เขียนต่อเนื้อหา ผู้เขียนต้องตรวจสอบคุณภาพและความถูกต้อง

  • ส่งเสริมความโปร่งใสเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ AI

  • อนุญาตให้ใช้เครื่องมือ AI ช่วยเหลือได้ แต่ต้องเปิดเผยการใช้งาน

  • ไม่สามารถระบุ AI เป็นผู้เขียนได้

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อกำหนดของ Elsevier เกี่ยวกับงานเขียน และสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย


BMJ

  • ต้องเปิดเผยการใช้งาน AI ในการเตรียมต้นฉบับ AI

  • ควรใช้ในบทบาทช่วยเหลือเท่านั้น

  • ผู้เขียนต้องมีความรับผิดชอบทั้งหมด


Emerald Publishing

  • แนะนำให้ผู้เขียนเปิดเผยการใช้งาน AI โดยใช้เป็นเพียงตัวช่วย

  • ไม่สามารถระบุ AI เป็นผู้เขียนได้


IEEE

  • ผู้เขียนต้องรายงานการใช้งาน AI เพื่อแสดงความโปร่งใสเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ AI

  • เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเป็นเจ้าของผลงานทางปัญญาของมนุษย์ มีความรับผิดชอบต่อความถูกต้องและจริยธรรมของงาน 

  • ไม่สามารถระบุ AI เป็นผู้เขียนหรือผู้มีส่วนร่วมได้


American Chemical Society (ACS):

  • อนุญาตให้ใช้ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลและแก้ไข โดยต้องเปิดเผยการใช้งาน

  • กำหนดให้ผู้เขียนตรวจสอบความถูกต้องและความคิดริเริ่มของงาน

  • ไม่สามารถระบุ AI เป็นผู้เขียนได้


Nature Publishing Group:

  • กำหนดให้เปิดเผยการใช้เครื่องมือ AI

  • ส่งเสริมการใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบและมีจริยธรรมในการวิจัยและการเผยแพร่


Oxford University Press:

  • กำหนดให้เปิดเผยการใช้เครื่องมือ AI

  • เน้นย้ำถึงความสำคัญของการตรวจสอบและการตัดสินใจของมนุษย์ในกระบวนการเขียน

  • อนุญาตให้ใช้ AI ในการปรับปรุงภาษา ผู้เขียนต้องเปิดเผยการใช้ AI และรับผิดชอบเนื้อหาทั้งหมด


Cambridge University Press:

  • กำหนดให้เปิดเผยการใช้เครื่องมือ AI

  • ส่งเสริมการใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบและมีจริยธรรมในการวิจัยและการเผยแพร่

  • อนุญาตให้ใช้เครื่องมือ AI ในการแก้ไขและช่วยวิจัย ไม่สามารถให้เครดิต AI เป็นผู้เขียนได้


จะเห็นว่าสำนักพิมพ์หลายแห่งมีความเห็นตรงกันเกี่ยวกับการใช้ AI ในการช่วยเขียน โดยมีข้อสรุปดังนี้
  • ไม่ยอมรับให้ระบุ AI เป็นผู้เขียน โดยมองว่า AI เป็นเครื่องมือ

  • ผู้เขียนจำเป็นจะต้องเปิดเผยการใช้งาน AI อย่างตรงไปตรงมา และมีจริยธรรมในการวิจัย

  • ผู้เขียนจะต้องตรวจทานเนื้อหาที่ AI สร้างขึ้นโดยผู้เขียนเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนนี้

  • บางสำนักพิมพ์ยังให้ผู้เขียนแนบผลลัพท์ที่ได้จาก AI มาเป็นเอกสารเพิ่มเติมอีกด้วยpilot


สำหรับวารสารวิชาการของสำนักพิมพ์ในประเทศไทย พบเพียง 2 แห่งที่มีการแจ้งเกี่ยวกับการใช้งาน AI ซึ่งได้แจ้งนโยบายในแนวทางเดียวกันกับสำนักพิมพ์ คือ สามารถใช้ AI ในการปรับปรุงภาษาและคุณภาพการเขียน โดยไม่อนุญาตให้ AI สร้างเนื้อหา รวมไปถึงการระบุว่า AI เป็นผู้เขียน


Journal of Liberal Arts (JLA)

  • มีการระบุข้อกำหนดในการใช้งานเครื่อง AI แยกในแต่ละประเด็น

  • การใช้งาน AI ในกระบวนการวิจัย จะต้องระบุเป็นเครื่องมือที่การออกแบบการทดลองและวิธีการทดลอง

  • ไม่สามารถระบุให้ AI เป็นผู้แต่งหรือผู้แต่งร่วมได้ เนื่องจาก AI เป็นเครื่องมือ ให้ระบุตามรูปแบบอ้างอิง APA software

  • การใช้ AI ในการตรวจลักลอกวรรณกรรมและการจัดการรายการอ้างอิงสามารถทำได้และไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบ

  • ห้ามใช้ AI ในการสร้างเนื้อหา สามารถใช้ได้เฉพาะการตรวจภาษาและพิสูจน์อักษร โดยจะต้องแจ้งกับบรรณาธิการและระบุลงในกิตติกรรมประกาศด้วย

  • หากพบว่าเนื้อหาถูกสร้างโดย AI จะถูกปฏิเสธการตีพิมพ์


Humanities, Arts and Social Sciences Studies (HASSS)

  • สามารถใช้ AI ในการปรับปรุงภาษาและคุณภาพการเขียนได้ โดยผู้เขียนต้องตรวจสอบเนื้อหาที่ AI ปรับปรุงด้วย

  • ไม่อนุญาตให้ระบุว่า AI เป็นผู้แต่งหรือผู้แต่งร่วม

  • ไม่อนุญาตให้ใช้ AI สร้างหรือปรับรูปภาพ

  • การใช้ AI ต้องไม่เกิน 30% แต่ทางวารสารไม่ได้ระบุวิธีตรวจสอบ



ถึงแม้ปัจจุบันจะมีเครื่องมือปัญญาประดิษฐ์ช่วยในการสร้างสรรค์ผลงาน ทั้งงานเขียน งานรูปภาพ แต่อย่าลืมว่าสุดท้ายแล้ว ผู้ใช้งานเครื่องมือจำเป็นจะต้องตรวจสอบ ควบคุม และรับผิดชอบต่อผลงานที่ถูกสร้างขึ้น เพราะสุดท้ายเจ้าของผลงานที่แท้จริงคือผู้ใช้งานเครื่องมือนั่นเอง

ในส่วนของการเขียนวิทยานิพนธ์เองก็เช่นกัน แม้ปัจจุบันจะยังไม่พบข้อกำหนดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการนำ AI มาใช้งานว่าสามารถใช้งานได้ในรูปแบบใดบ้าง จำเป็นจะต้องติดตามกันต่อไป ทีมงานจะติดตามเรื่องนี้และนำมานำเล่าให้ทุกท่านทราบ สามารถกดสมัครสมาชิกไว้เพื่อติดตามข่าวสารและบทความ


สำหรับทีมงานไอทีสิสนั้น เราสนับสนุนให้ใช้งาน AI ในฐานะของผู้ช่วยรวบรวมและเรียบเรียง โดยเราเรียกการใช้งานในส่วนนี้ว่า Co-creation with AI คือร่วมกันสร้างสรรค์ผลงาน โดยหากสนใจใช้งาน Co-creation with AI นั้น จะต้องดาวน์โหลด Paperpilot Mobile Application ลงทะเบียน และเชื่อมบัญชีไอทีสิส โดยปัจจุบันสามารถเชื่อมได้เฉพาะบัญชีของนักศึกษา


ดาวน์โหลด Paperpilot คลิกที่นี่ https://paperpilot.onelink.me/qmhZ/xje0q3y3  

ลงทะเบียนและเชื่อมบัญชีไอทีสิสเพื่อใช้งาน Co-creation with AI รวมไปถึงการเข้าสู่ระบบด้วยการสแกน QR Code เพิ่มความปลอดภัยให้กับ Account ของคุณ



 

iThesis Line Official Account พูดคุยกับทีมงานและผู้ช่วย Rover AI เพื่อถามตอบเกี่ยวกับไอทีสิส

สามารถกดเพื่อเพิ่มเพื่อนได้ที่นี่ 👉  https://lin.ee/3gAUHWL
 

ช่องทางติดต่อสอบถามเกี่ยวกับระบบไอทีสิส


 
 
 

Comments

Rated 0 out of 5 stars.
No ratings yet

Add a rating
bottom of page