top of page
Writer's pictureTheerayooth Kosin

Generative AI จะช่วยให้เราออกแบบ methodology การวิจัยได้อย่างไร

ปัจจุบัน เราอาจได้พบเห็นการประยุกต์ใช้ Generative AI ในหลากหลายอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างเช่น

การแนะนำด้านภาษา

การแนะนำการเขียนอีเมล
การแนะนำแนวทางการตอบอีเมล
การแนะนำเขียนโปรแกรม (code snippets) หรือ
การช่วยออกแบบระบบตามสายงานที่เราต้องการ
การช่วยเหลือออกแบบกราฟิก หรือ
การหา idea เพื่อแนะนำการออกแบบ UX Wireframe และ Story


เรียกได้ว่ามีการแตกแขนงไปประยุกต์ใช้กันอย่างกว้างขวางเลยครับ


และในด้านการนักศึกษา นับว่าเป็นหนึ่งในงานที่สามารถนำเอา Generative AI เข้าประยุกต์ช่วยเหลือ และใช้งานตามความสนใจได้เช่นกัน ซึ่งเราจะสร้างคำถาม (prompt) เพื่อสอบถามเจ้า Generative AI และกลั่นกรองคำตอบเพื่อนำไปประยุกต์ใช้งาน


โพสต์นี้ เราลองมายกตัวอย่างอย่างง่ายกันหน่อยนะครับว่า เจ้า Generative AI จะช่วยให้เราออกแบบ methodology การวิจัยได้อย่างไร อาจจะพอช่วยให้เราได้มีแนวทางในภาพกว้างได้บ้าง (ตามรูปเลยนะครับ)



โดยเจ้า Generative AI ได้แนะนำเราดังนี้ครับ

ให้เรากำหนดวัตถุประสงค์ และคำถามวิจัยให้ชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบ methodology
เราควรเลือกวิธีการวิจัยที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ เช่น การวิจัยเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ หรือผสมผสาน
การกำหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม รวมถึงวิธีการสุ่มตัวอย่างจะช่วยให้เราเห็นชุดข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น
เราควรเลือกเครื่องมือในการเก็บข้อมูลที่มีความเที่ยงตรง และน่าเชื่อถือ เช่น แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต
ควรวางแผนการวิเคราะห์ข้อมูลให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และข้อมูลที่จัดเก็บมาได้
พิจารณาจริยธรรมการวิจัย เช่น การขอความยินยอมจากผู้เข้าร่วมวิจัย การรักษาความลับของข้อมูล


จะเห็นได้ว่า บางข้ออาจจะมองภาพไม่ออก เช่น จะเลือกคำถามวิจัยได้อย่างไร? จากไหน? แล้วจะเลือกวิธีวิจัยแบบใด? กรณีที่เป็นการพัฒนาสิ่งใหม่จะต้องทำอย่างไร? งานที่อยากทำมีคนทำหรือยัง? ฯลฯ


โพสต์หน้า เราลองมาเจาะแต่ละข้อดูครับว่า เมื่อเราได้ guideline จากเจ้า Generative AI แล้วแบบนี้แล้ว เราจะเริ่มสร้าง prompt เพื่อแสวงหาแนวทางเพิ่มเติมได้อย่างไร


... stay tuned !!


 

ช่องทางติดต่อสอบถามเกี่ยวกับระบบไอทีสิส


13 views0 comments

コメント

5つ星のうち0と評価されています。
まだ評価がありません

評価を追加
bottom of page